โครงการประเมินและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์

ข่าว TEDET

สสวท. จัด TEDET TALKS ครั้งแรก อย่างยิ่งใหญ่

การบรรยายเชิงวิชาการ TEDET TALKS           เมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2560 โครงการประเมินและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หรือ โครงการ TEDET โดยความร่วมมือระหว่าง สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.),  ธนาคารออมสิน,  บริษัท เอดู พาร์ค จำกัด และ CMS Edu Co., Ltd. ประเทศเกาหลีใต้ จัดงานบรรยายเชิงวิชาการ TEDET TALKS – Bringing Ideas to Education อย่างยิ่งใหญ่ ในหัวข้อ “Thinking Power – ขุมพลังแห่งศักยภาพในการเรียนรู้” ณ ห้อง ดร.ถาวร พรประภา ออดิทอเรียม อาคารสยามกลการ กรุงเทพมหานคร โดยมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเด็ก นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร อดีตผู้อำนวนการสถาบันราชานุกูล และวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา C.K. Lee, CEO จาก CMS Edu Co., Ltd. จากประเทศเกาหลีใต้  ซึ่งการบรรยายจัดขึ้น 2 รอบ คือ รอบเช้าสำหรับผู้บริหารโรงเรียนและครู และรอบบ่ายสำหรับผู้ปกครอ

 

คณะผู้บริหารจาก สสวท. บริษัท เอดู พาร์ค จำกัด และ CMS Edu Co., Ltd. ถ่ายภาพร่วมกัน

นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร บรรยายเรื่อง “Brain Executive Functions and STEM Education

 บรรยากาศการบรรยายเปี่ยมไปด้วยเทคนิคและความรู้มากมายที่มีประโยชน์ ที่จะช่วยสร้างแนวคิดและแรงบันดาลใจให้แก่ผู้เข้าร่วมงาน โดยในส่วนการบรรยายของ นายแพทย์อุดม เพชรสังหาร กล่าวถึง “Brain Executive Functions and STEM Education” หรือการพัฒนาสมองของเด็กโดยใช้ดนตรีกระบวนการเข้าจังหวะ ในการบรรยายได้มีการทำกิจกรรม Drum Circle หรือการตีกลองเข้าจังหวะเพื่อฝึกสมาธิ เนื่องจากมีผลวิจัยยืนยันว่าเด็กที่ไม่สามารถ
ทำกิจกรรมเข้าจังหวะได้ จะมีพัฒนาการการเรียนรู้ที่ช้ากว่าเด็กที่สามารถเข้าจังหวะได้นั่นเอง

C.K. Lee, CEO จาก CMS Edu Co., Ltd.
บรรยายเรื่อง “Thinknology and Fusion Education”

การบรรยายในหัวข้อที่ 2 เรื่อง “Thinknology and Fusion Education” โดย C.K. Lee จากประเทศเกาหลีใต้ กล่าวถึงเปิดประสบการณ์การสร้างรูปแบบใหม่ที่ให้นักเรียนได้มีการฝึกฝนกระบวนการคิดแบบ (Divergent Thinking) ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) และรู้จักผสมผสานความรู้ (Fusion) ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม รวมถึงศิลปะอีกด้วย เพื่อก้าวสู่การเป็นนักนวัตกรรม (Innovator) และนักคิดสร้างสรรค์ (Creator) ในอนาคต การสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ นี่เองจะทำให้เด็กรุ่นใหม่จะสามารถประสบความสำเร็จได้เร็วกว่าคนรุ่นหลัง โดยไม่ต้องมีระดับชั้นการศึกษาหรืออายุมาจำกัด เนื่องจากเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทพัฒนาศักยภาพมนุษย์มากขึ้น

 

ดร.ไพบูลย์ ปีตะเสน ประธานโครงการภาษาเอเชียตะวันออก
สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รับหน้าที่ผู้บรรยายภาษาไทย

บรรยากาศก่อนเริ่มการเริ่มบรรยาย